top of page

กระบอกน้ำ กระติกน้ำพกพาส่วนบุคคล จะเลือกซื้อยังไงดี?

ปัจจุบันเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ที่มีแบรนด์ชั้นนำหลายยี่ห้อสนับสนุนแนวคิดของการใช้ซ้ำ #Reuse หมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะช่วยลดการใช้ภาชนะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

แต่ละแบรนด์ก็มีการผลิตสินค้าประเภท #กระบอกน้ำ #กระติกน้ำ #ขวดน้ำ #แก้วน้ำ สำหรับพกพาส่วนบุคคลออกมาให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งรูปแบบการใช้งาน นวัตกรรมที่แตกต่าง สไตล์ความสวยงาม ราคา และวัสดุ

ทีนี้เราควรจะเลือกซื้อ แบบไหน ที่จะเหมาะกับเรามากที่สุด วันนี้ขอแชร์เคล็ดลับง่ายๆเบื้องต้นในการ #เลือกกระบอกน้ำ คือ การเลือกดูตามประเภทของวัสดุค่ะ

เพราะวัสดุที่ถูกเลือกมาใช้ผลิตนั้น นักออกแบบผลิตภัณท์ก็ได้เลือกมาเพื่อให้ตอบสนองกับ ประโยชน์การใช้งานแต่ละแบบแตกต่างกันไป

**ขออภัยนะคะ ทางContigo เราไม่ได้ขายยี่ห้ออื่นๆค่ะ โพสต์นี้จุดประสงค์คือแนะนำเกี่ยวกับวัสดุประเภทต่างๆของขวดน้ำ

ภาพทั้งหมดมาจากรีวิวต้นฉบับภาษาอังกฤษของลิ้งค์ด้านล่าง สนใจกดไปดูได้เลยนะคะ

https://www.yourbestdigs.com/reviews/best-water-bottle/

1.โลหะสแตนเลส (ผนังสองชั้น /ผนังสองชั้นสุญญากาศ) #ขวดน้ำสแตนเลสสองชั้น มีทั้งแบบผนังสองชั้นธรรมดา และผนังสองชั้น #สุญญากาศ ข้อดีหลักๆ ของวัสดุสแตนเลส คือ "มีคุณสมบัติในการนำ/ถ่ายเทอุณหภูมิต่ำ ก็หมายถึง "ช้า" ในการถ่ายผ่านอุณหภูมิของสิ่งที่บรรจุอยู่ออกไปสู่อากาศด้านนอก ดังนั้นถ้าใช้สแตนเลสในการเก็บน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น จะสามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้ โดยเฉพาะชนิดที่มีการดูดอากาศออกให้เกิดเป็น"ฉนวนสุญญากาศ" ระหว่างผนังสองชั้นด้วย ถือว่าเป็น กระบอกน้ำประเภทเดียวที่สามารถใช้คำว่า "เก็บอุณหภูมิ"ได้ สแตนเลสยังเป็นวัสดุที่มีความเป็น "กลาง" คือไม่เกิดปฏิกริยาเรื่อง กลิ่น/ หรือ รสชาติ ดังนั้น น้ำ/เครื่องดื่มของเราจะไม่มีกลิ่นหรือรสชาติแปลกปลอม ทั้งยังมีลักษณะสวยงาม ทนทาน และ ยังสามารถนำส่งไปหลอมรีไซเคิลได้ 100% อย่างมีประสิทธิภาพด้วยค่ะ ดังนั้นถ้าเรากำลังมองหา ขวดน้ำ/กระบอก/กระติก สำหรับ"เพื่อที่จะเก็บอุณหภูมิ" ( ทั้งร้อนและเย็น) ให้เลือกแบบที่ผลิตจากวัสดุสแตนเลสแบบสองชั้นและสุญญากาศเท่านั้นได้เลยค่ะ

การเก็บอุณหภูมิก็จะ นาน แตกต่างกันไปตามชนิดและความหนาของสแตนเลส ควรเลือกที่เป็น สแตนเลสแบบ 18/8 340(premium grade) เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่ดีและปลอดภัย หากมีความหนา ( 0.5 mm.) จะเก็บอุณหภูมิได้นานถึง 12 ชม.น้ำร้อน / 24 ชม.น้ำเย็น แต่อย่าลืมว่า ความหนาก็มาพร้อมกับความหนัก ถ้าอยากได้เบา ก็สามารถเลือกที่ ผนังบางลงหน่อย หรือความจุน้อยลงหน่อยก็ตามสะดวกค่ะ

*รุ่นที่เป็นผนังสแตนเลสสองชั้น ถ้าไม่ใช่สุญญากาศ ก็ไม่ถือว่าเก็บรักษาอุณหภูมิได้นะคะ แต่ก็ยังดีกว่าแบบชั้นเดียวค่ะ

2.โลหะสแตนเลส/อลูมิเนียม ผนังชั้นเดียว #ขวดน้ำโลหะสแตนเลสหรืออลูมิเนียม ผนังชั้นเดียว ไม่มีสุญญากาศ ข้อดีหลักๆ ของกระบอกแบบนี้คือ "ความเบา" แต่ ไม่สามารถเก็บอุณหภูมิได้ และ อลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการนำ/ถ่ายเทอุณหภูมิสูงก็หมายถึง "เร็ว" ในการถ่ายผ่านอุณหภูมิของสิ่งที่บรรจุอยู่ออกไปสู่อากาศด้านนอก ดังนั้นถ้าใช้อลูมิเนียมในการใส่น้ำร้อน หรือ น้ำเย็น จะไม่สามารถใช้มือจับกระบอกได้เลย เพราะจะร้อนและลวกมือได้ (ถ้าน้ำเย็นมือก็จะเปียกค่ะ) จึงเป็นข้อที่ต้องระวังอย่างยิ่ง

ข้อดีนอกจาก ความเบาแล้ว ราคาควรจะ"ถูก"เพราะใช้วัสดุและเทคโนโลยีในการผลิตต่ำ ไม่มีความซับซ้อน จะเห็นว่า เพราะเป็นผนังชั้นเดียว การออกแบบจึงพยายามทำส่วนเปิด(ปากกระบอก)ให้เล็ก เพื่อช่วยไม่ให้อากาศภายในถ่ายเทออกไปสู่ภายนอกรวดเร็วเกินไป แต่ก็อาจจะถือเป็นข้อเสียในการ ล้างทำความสะอาด จึงอาจจะเหมาะแค่สำหรับใส่น้ำเปล่าโดยที่ไม่ต้องการเก็บอุณหภูมิค่ะ เวลาซื้อควรดูที่มีผนังหนา ทนทาน เพราะอลูมิเนียมเป็นวัสดุค่อนข้างนิ่ม ถ้าผนังบางเกินไป เวลาใช้งานไปแล้วจะบุบเสียรูปง่าย และวัสดุอลูมิเนียมอาจจะทำให้น้ำมีกลิ่นโลหะเล็กน้อยเวลาดื่มค่ะ

*ส่งไปหลอมรีไซเคิลได้ 100% อย่างมีประสิทธิภาพ

3. แก้ว #กระบอกแก้ว หลายคนที่ไม่ชอบใช้สินค้าพลาสติก แต่อยากได้กระบอกน้ำที่ใสมองเห็นภายในได้ ก็มีทางเลือกเป็น กระบอกน้ำที่ทำจากวัสดุแก้วนะคะ แก้วให้ความใส ลื่น ไม่ติดกลิ่น ดังนั้นน้ำ/เครื่องดื่มที่ใส่กระบอกแก้วจะไม่มีกลิ่น หรือ รสชาติกวนใจค่ะ แต่ข้อเสียของแก้วก็คือ ตกแตกเป็นอันตรายได้ ปัจจุบัน กระบอกหลายๆยี่ห้อก็จะออกแบบปลอกหุ้มที่เป็นยางซิลิโคน มาห่อไว้ที่ผนังด้านนอก เพื่อทำหน้าที่สองอย่าง คือ ช่วยเป็นแผ่นป้องกันการกระแทก และ ช่วย กันอุณหภูมิของน้ำ/เครื่องดื่มด้านในถ่ายเทออกมาที่ผนังด้านนอก แต่การใช้งานจริงๆ แก้วจะไม่สามารถกักเก็บอุณหภูมิได้ และแผ่นซิลิโคนก็ช่วยได้แค่การกันไม่ให้ผนังมันร้อนจนจับไม่ได้ ( กรณีใส่น้ำร้อน ) แต่ถ้าใส่น้ำเย็น ด้านนอกก็จะยังเปียกเป็นหยดน้ำอยู่ ขวดน้ำที่เป็นแก้วจึงไม่เก็บอุณหภูมิเลยค่ะ อีกข้อนึงที่อาจจะเป็นจุดเสียนอกจากการแตกอันตรายของวัสดุแก้วแล้ว ก็คือ น้ำหนัก ถ้าเทียบกับวัสดุอื่นๆแล้ว กระบอกน้ำทำจากแก้ว จะมีน้ำหนักมากที่สุดค่ะ

*แก้วส่งไปหลอมเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ 100% แต่ใช้พลังงานในการหลอมและกระบวนการผลิตสูงมาก อีกทั้งต้องมีการใช้วัสดุสิ้นเปลืองจำนวนสูงเพื่อป้องกันสินค้าตลอดทุกกระบวนการ จากการผลิต ขนส่ง จนถึงมือลูกค้า

4. พลาสติก #กระบอกน้ำพลาสติก ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่น สปอร์ต หรือ สำหรับเดินทาง พลาสติกเป็นวัสดุที่ลดข้อจำกัดหลายอย่างในกระบวนการผลิตกระบอกน้ำ สามารถทำเป็นสีต่างๆได้ โดยที่ยังให้ความใสเพื่อมองเห็นระดับของน้ำ/เครื่องดื่มภายใน มีความทนทาน น้ำหนักเบา และราคาย่อมเยา เหมาะกับการพกพาสำหรับท่องเที่ยว เดินทาง หรือ ทำกิจกรรมออกกำลังกาย แต่พลาสติกก็มีหลายคุณภาพ ข้อควรระวังที่สำคัญคือ วัสดุพลาสติกที่นำมาผลิตกระบอกน้ำนั้น ควรปราศจากสาร BPA/BPS ที่อาจสะสมเป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็งได้ กระบอกพลาสติก(ทุกยี่ห้อ) ไม่แนะนำสำหรับการบรรจุน้ำร้อน ควรใช้กับน้ำอุณหภูมิปกติ หรือ น้ำเย็น พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่เก็บอุณหภูมิ และถ้าเป็นผนังชั้นเดียว มีข้อเสียคือผนังจะเปียกเป็นหยดน้ำถ้าใช้บรรจุน้ำ/เครื่องดื่มเย็น ถ้าเป็นพลาสติกสองชั้น สามารถจะช่วยยืดเวลาของการละลายของเครื่องดื่ม/น้ำแข็งด้านใน และช่วยไม่ให้เกิดหยดน้ำเปียกเกาะที่ผนังด้านนอกค่ะ *บางคนอาจจะมีความรู้สึกว่าดื่มน้ำจากกระบอกพลาสติก จะมีกลิ่นทางเคมีเมื่อเทียบกับสแตนเลสหรือ วัสดุแก้ว *การรีไซเคิลขึ้นกับชนิดของพลาสติก ให้สังเกตดูสัญลักษณ์รีไซเคิลและหมายเลขที่แสดงไว้ที่ก้นกระติกค่ะ

*ขออภัยนะคะ ทางContigo เราไม่ได้ขายยี่ห้ออื่นๆค่ะ โพสต์นี้จุดประสงค์คือแนะนำเกี่ยวกับวัสดุประเภทต่างๆของขวดน้ำค่า

ภาพทั้งหมดมาจากรีวิวของลิ้งค์ด้านล่าง สนใจกดไปดูได้เลยนะคะ https://www.yourbestdigs.com/reviews/best-water-bottle/

#กระบอกนำ #กระตกนำ #แกวนำ #ขวดนำ #กระบอกนำสแตนเลส #กระบอกนำพลาสตก #กระบอกนำเกบความเยน #รกษโลก #Reuse #ECOfriendly

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
  • Facebook Basic Square
bottom of page